ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของ นายซัมรี หะยียูโซ๊ะ รหัส 544148172 ค.บ.3 สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป หมู่ 3 รายวิชา PC 54505 นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา Innovation Technology and Information of Education
สวัสดีครับ...ผู้เยี่ยมชมทุกท่าน บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๖ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ ๓

หน่วยที่ ๗


คอมพิวเตอร์
        คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" 
 วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ยุคแรก
อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น
คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม
คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหย่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมาก
คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่
คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว
คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า
คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง
คอมพิวเตอร์มีกลไกการทำงาน 4 อย่าง
1. รับข้อมูล (Input) ซึ่งรับข้อมูลมาจากอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล(input unit) ได้แก่ คีย์บอร์ด, เม้าส์, ไมโครโฟน, เครื่องScan
2. ประมวลผล (Processing) ซึ่งข้อมูลที่คอมพิวเตอร์รับเข้ามาจะถูกประมวลผลด้วย CPU  เพื่อแปลงออกมาเป็นข้อมูลตามที่ซอฟแวร์กำหนด
3. แสดงผล (Output) คอมพิวเตอร์จะแสดงผลที่ประมวลผลแล้วออกมาอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ (output unit) ได้แก่ จอภาพ, เครื่องพิมพ์, ลำโพง
4. เก็บข้อมูล (Storage) เมื่อประมวลผลเสร็จแล้ว ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล ได้แก่ ฮาร์ดดิส, CD-ROM1. รับข้อมูล (Input) ซึ่งรับข้อมูลมาจากอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล(input unit) ได้แก่ คีย์บอร์ด, เม้าส์, ไมโครโฟน, เครื่องScan
ประเภทของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. Super Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลผลข้อมูลได้สูงสุด
2. Mainframe Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีส่วนความจำน้อยลงและช้ากว่า Super Computer
สามารถทำงานผ่านระบบเครือข่าย (Network)

3. Mini Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่นที่มีความเร็วสูง มีการเก็บข้อมูลไว้ใน Harddisk สามรถอ่านและเขียนข้อมูลได้เร็ว
4. Micro Computer หรือที่เรียกว่า Personal Computer : PC เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีส่วนความจำและการประมวลผลช้าที่สุด  
ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)
ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ซอฟต์แวร์ (Software)
บุคลากร (Peopleware)
ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์
1. หน่วยเก็บ (Storage) หมายถึง ความสามารถในการเก็บข้อมูลจำนวนมากและเป็นเวลานาน 
2. ความเร็ว (Speed) หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล (Processing Speed) โดยใช้เวลาน้อย 
3. ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting) หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลตามลำดับขั้นตอนได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องอย่างอัตโนมัติ 
4. ความน่าเชื่อถือ (Sure) หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ความน่าเชื่อถือนับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
-          ด้านการศึกษา : มีการนำมาใช้ในการเรียนการสอน และจัดเก็บข้อมูลการลงทะเบียนของนักเรียนทำให้ง่ายต่อการค้นหา
-          ด้านวิทยาศาสตร์ : นำมาใช้คำนวณข้อมูลที่ซับซ้อน ทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น

-          ด้านการสื่อสาร : ช่วยในการส่งสัญญาณการสื่อสารให้ชัดเจนขึ้น เช่น สามารถพูดคุยเห็นหน้ากันได้ผ่านโปรแกรม webcam หรือการคุยทางไกลข้ามประเทศผ่านโปรแกรม skype

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น