ความรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสาร
ความหมายของการสื่อสาร
คำว่า การสื่อสาร (communications) มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า
communis หมายถึง ความเหมือนกันหรือร่วมกัน
เดนนิส
แมคเควล (McQuail, 2005) กล่าวว่า การสื่อสารหมายถึงการให้และการรับความหมาย
การถ่ายทอดและการรับสาร ซึ่งรวมถึงแนวคิดของการโต้ตอบ แบ่งปัน
และมีปฏิสัมพันธ์กันด้วย
บริบททางการสื่อสาร
จากรูปภาพบริบททางการสื่อสาร จะอธิบายได้ว่า ผู้ส่งสารถ่ายทอดข้อมูลคือสารผ่านไปยังสื่อต่างๆ
ส่งไปยังผู้รับสารเพื่อที่จะให้ผู้รับสารทราบข้อมูล และเข้าใจตรงกันกับผู้ส่งสาร
และตอบสนองกลับไปยังผู้ส่งสาร
การสื่อสารในบริบทต่างๆ
การสื่อสารในครอบครัว
ต้องคำนึงถึงประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกันและการใช้ข้อความบางอย่าง เพราะอาจทำให้ไม่เข้าใจกันและอาจทำให้เกิดปัญหาในครอบครัวได้
การสื่อสารในโรงเรียน
ควรระมัดระวังท่าทาง การพูดที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันและการสื่อสารในโรงเรียน
อาจมีทั้งการสื่อสารระหว่างบุคคลหรือสื่อสารในกลุ่ม
ซึ่งข้อเท็จจริงบางอย่างไม่ควรนำมาเผยแพร่ เพราะจะมีผลเสียหายสะท้อนกลับมา
ความสำคัญของการสื่อสาร
1. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร
2. การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม
3. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม
การพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ
องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสาร มี 4 ประการ ดังนี้
1.ผู้ส่งสาร (sender)
2. สาร (message)
3. สื่อ หรือช่องทาง (media
or channel)
4. ผู้รับสาร (receiver)
คุณสมบัติของผู้ส่งสาร
1. เป็นผู้ที่มีเจตนาแน่ชัดที่จะให้ผู้อื่นรับรู้จุดประสงค์ของตนในการส่งสาร
แสดงความคิดเห็น หรือวิจารณ์ ฯลฯ
2. เป็นผู้ที่มีความรู้
ความเข้าใจในเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อออกไปเป็นอย่างดี
3. เป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะที่ดี
มีความน่าเชื่อถือ แคล่วคล่องเปิดเผยจริงใจ และมีความรับผิดชอบ ในฐานะเป็นผู้ส่งสาร
หลักในการสื่อสาร
1. ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์
จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร
และปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ การคิด การเรียนรู้ การจำ
2. ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร
บริบทในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่อยู่แวดล้อมที่มีส่วนในการกำหนดรู้ความหมายหรือความเข้าใจในการสื่อสาร
3. คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง
(frame of reference) มนุษย์ทุกคนจะมีพื้นความรู้ทักษะ เจตคติ ค่านิยม
สังคม ประสบการณ์ ฯลฯ เรียกว่าภูมิหลังแตกต่างกัน ถ้าคู่สื่อสารใดมีกรอบแห่ง
การอ้างอิงคล้ายกัน ใกล้เคียงกัน จะทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform) ในการทำการสื่อสาร ผู้ทำการสื่อสารควรมีความ ต้องการที่จะบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบ
2.
เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education) ผู้ทำการสื่อสารอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจะ ถ่ายทอดวิชาความรู้ หรือเรื่องราวเชิงวิชาการ เพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง
(please of entertain) ผู้ทำการสื่อสารอาจ
ใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจ หรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร โดยอาศัยสารที่ตนเองส่งออกไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดงกิริยาต่าง ๆ
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ
(Propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ใน
การสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะ หรือชักจูงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร และอาจชักจูงใจให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตาม หรือยอมปฏิบัติตามการเสนอแนะของตนฯลฯ
ประเภทของการสื่อสาร
1. จำนวนผู้ทำการสื่อสาร
1.1 การสื่อสารภายในตัวบุคคล (intrapersonalcommunication) เช่น
- การคิดถึงงานที่จะทำ
เป็นต้น
1.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (interpersonalcommunication) เช่น
-การพูดคุยระหว่างบุคคล 2 คนขึ้นไป
- การโทรศัพท์ เป็นต้น
1.3 การสื่อสารกลุ่มใหญ่(large group
communication) เช่น
- การอภิปรายในหอประชุม
- การปราศรัยในงานสังคม เป็นต้น
1.4 การสื่อสารในองค์กร (organizationalcommunication) เช่น
- การสื่อสารในหน่วยงาน ราชการ
- การสื่อสารของธนาคาร เป็นต้น
1.5 การสื่อสารมวลชน(mass
communication) การสื่อสารที่ผ่านสื่อเหล่านี้ คือ
- โทรทัศน์
- ภาพยนตร์เป็นต้น
2.การเห็นหน้ากัน
2.1 การสื่อสารแบบเผชิญหน้า(face
to face communication) เช่น
- การสนทนาต่อหน้ากัน
- การประชุมกลุ่มย่อย เป็นต้น
2.2 การสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้า(interposed
communication) เช่น
- หนังสือพิมพ์
- อินเตอร์เน็ตเป็นต้น
3. ความสามารถในการโต้ตอบ
3.1 การสื่อสารทางเดียว(one-way communication) การสื่อสารที่ผ่านสื่อมวลชนทุกชนิด
คือ
- วิทยุ/โทรทัศน์/วีดิทัศน์
- ภาพยนตร์เป็นต้น
3.2 การสื่อสารสองทาง (two-way
communication) เช่น
- การสื่อสารระหว่างบุคคล
- การพูดคุย / การสนทนา เป็นต้น
4. ความแตกต่างระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร
4.1 การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ(interracial
communication) เช่น
- ชาวไทยสื่อสารกับคน ต่างประเทศ
- คนจีน, มาเลย์, อินเดีย
ใน ประเทศมาเลเซีย สื่อสารกัน เป็นต้น
4.2 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (gosscultural communication) เช่น
- การสื่อสารระหว่างคนไทยภาคใต้กับภาคเหนือหรือ ภาคอื่น ๆ
- ชาวไทยสื่อสารกับชาวเขา เป็นต้น
4.3 การสื่อสารระหว่างประเทศ(international communication) เช่น
- การเจรจาติดต่อสัมพันธ์ทางการทูต
- การเจรจาในฐานะตัวแทน รัฐบาล เป็นต้น
5. การใช้ภาษา
5.1 การสื่อสารเชิงวัจนภาษา (verbal
communication) เช่น
- การพูด, การบรรยาย
- การเขียนจดหมาย, บทความเป็นต้น
5.2 การสื่อสารเชิงอวัจนภาษา (non-verbal
communication) เช่น
- การสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ, คำพูด
- อาการภาษา, กาลภาษา, เทศภาษา, สัมผัสภาษา, เนตรภาษา, วัตถุภาษาและปริภาษา เป็นต้น
อุปสรรคในการสื่อสาร
อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง
สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร
อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร
สิ่งที่เป็นอุปสรรค์ในการสื่อสารมีดังนี้
1. อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
1.1 ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ
1.2 ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม
2. อุปสรรคที่เกิดจากสาร
2.1 สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร อาจยากหรือง่ายเกินไป
2.2 สารขาดการจัดลำดับที่ดี
สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน
3. อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ
หรือช่องทาง
3.1 การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ
3.2 การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี
4. อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
4.1 ขาดความรู้ในสารที่จะรับ
4.2 ขาดความพร้อมที่จะรับสาร
การสื่อสารกับการศึกษา
การ เรียนการสอน เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง
มีทั้งผู้ส่งสาร อันได้แก่ครูผู้สอน มีสาร คือความรู้หรือประสบการณ์ที่จัดขึ้น
ผู้รับสารคือ ผู้เรียน มีกระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วยเครื่องมือ
สื่อการเรียนการสอนต่างๆ ภายใต้สถานการณ์ที่จัดขึ้นในห้องเรียน
องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารสามารถแบ่งได้ 5 ส่วน ดังนี้
1. ผู้ส่งสาร หมายถึง ผู้ต้องการติดต่อ
หรือผู้ส่งเรื่องราว ในที่นี้คือชายหนุ่มที่ส่งจดหมายไปถึงหญิงสาว
2. ผู้รับสาร หมายถึง ผู้รับการติดต่อ
หรือผู้รับเรื่องราว ในที่นี้คือหญิงสาวที่ได้รับจดหมายจากชายหนุ่ม
3. สาร หมายถึง
เนื้อหาสาระของเรื่องราวที่ติดต่อให้บุคคลอื่นรับรู้ ในที่นี้คือข้อความในจดหมาย
4. สื่อ หมายถึง ช่องทางในการส่งสารไปยังผู้รับ
ในที่นี้คือ จดหมายที่ผู้ส่งสารส่งไปยังผู้รับ
5. ผลตอบสนอง หรือปฏิกิริยาตอบสนอง หมายถึง
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นของผู้รับสาร ซึ่งรับรู้ความหมายของสาร
ที่ผู้ส่งสารส่งมาให้และเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อสาร
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. วัจนภาษา ซึ่งเป็นถ้อยคำ คือภาษาพูดที่ใช้สื่อสารกัน
2. อวัจนภาษา ซึ่งไม่ใช่ถ้อยคำ แต่อาจจะเป็นภาษาสัญลักษณ์ที่สามารถเข้าใจได้ตรงกัน
ระดับภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
1. ภาษาระดับพิธีการ
2. ภาษาระดับทางการ
3. ภาษาระดับกึ่งทางการ
4. ภาษาระดับสนทนา
5. ภาษาระดับกันเอง
ประโยชน์ของการสื่อสาร
ทำให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างราบรื่น เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกันและลดความขัดแย้งที่เกิดจากการไม่เข้าใจกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น