ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของ นายซัมรี หะยียูโซ๊ะ รหัส 544148172 ค.บ.3 สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป หมู่ 3 รายวิชา PC 54505 นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา Innovation Technology and Information of Education
สวัสดีครับ...ผู้เยี่ยมชมทุกท่าน บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๖ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ ๓

หน่วยที่ ๒


หลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ
1.  หลักการและทฤษฏีทางจิตวิทยาการศึกษา
ทฤษฏีการเรียนรู้
เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษา  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1 . กลุ่มพฤติกรรม  
                                                                                                   2 . กลุ่มความรู้
ทฤษฏีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม  ซึ่งทฤษฏีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฏี เช่น ทฤษฏีการวางเงื่อนไข  ทฤษฏีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง  ทฤษฏีการเสริมแรง
ทฤษฏีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง  เจ้าของทฤษฏีนี้คือ ทอนไดค์ กล่าวว่า สิ่งเร้าสามารถทำให้เกิดการตอบสนองหลายๆอย่าง และเขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ
-  กฎแห่งการผล
-  กฎแห่งการฝึกหัด
-  กฎแห่งความพร้อม
การนำทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรม มาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษานี้จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้
1.  การเรียนรู้เป็นเป็นขั้นเป็นตอน
2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที
4. การได้รับการเสริมแรง
แนวคิดของสกินเนอร์นั้น นำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป  หรือการสอนแบบโปรแกรม  สกินเนอร์เป็นผู้คิดบทเรียนโปรแกรมเป็นคนแรก
คาร์เพนเตอร์และเดล  ได้ประมวลหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการสึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 10 ประการ คือ
1. หลักการจูงใจ
2. การพัฒนามโนทัศน์
3. กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี
4. การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา
5. การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ
6. การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ
7. อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน
8. ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล
9. การถ่ายโยงที่ดี
10. การให้รู้ผล
นอกจากนี้ หลักการและทฤษฏีที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาต้องอาศัยวิธีการที่สำคัญอย่างน้อยอีก 2 วิธี คือ วิธีการเชิงมานุษยวิทยาและวิธีการสอนเชิงระบบ
ทฤษฏีการรับรู้  เมื่อมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องมีการรับรู้ เกิดขึ้น ก่อน เพราะการรับรู้เป็นหนทางที่นำไปสู่การแปลความหมายที่เข้าใจกันได้ ซึ่งหมายถึงการรับรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการรับรู้เกิดขึ้น การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้
แนวคิดของ ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์  และ วไลพร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม  กล่าวว่า การที่จะเกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องอาศัยการรับรู้ที่เกิดจากการเปลี่ยน แปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์ การรับรู้มีขบวนการที่ทำให้เกิดการรับรู้ โดยการนำความรู้เข้าสู่สมองด้วยอวัยวะสัมผัส และเก็บรวบรวมจดจำไว้สำหรับเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดมโนภาพและ ทัศนคติ ดังนั้นการมีสิ่งเร้าที่ดีและมีองค์ประกอบของการรับรู้ที่สมบูรณ์ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีด้วยซึ่งการรับรู้เป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการรับ รู้
แนวคิดของ Fleming  ให้ข้อเสนอแนะว่ากระบวนการรับรู้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนด้วย มีเหตุผลหลายประการที่นักออกแบบเพื่อการเรียนการสอนจำต้อง รู้และนำหลักการของการรับรู้ไปประยุกต์ใช้กล่าวคือ
1.โดย ทั่วไปแล้วสิ่งต่าง ๆ เช่น วัตถุ บุคคล เหตุการณ์ หรือสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน ถูกรับรู้ดีกว่า มันก็ย่อมถูกจดจำได้ดีกว่าเช่นกัน
2.ใน การเรียนการสอนจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับรู้ที่ผิดพลาด เพราะถ้าผู้เรียนรู้ข้อความหรือเนื้อหาผิดพลาด เขาก็จะเข้าใจผิดหรืออาจเรียนรู้บางสิ่งที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงกับความเป็น จริง
3.เมื่อ มีความต้องการสื่อในการเรียนการสอนเพื่อใช้แทนความเป็นจริงเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะต้องรู้ว่าทำอย่างไร จึงจะนำเสนอความเป็นจริงนั้นได้อย่างเพียงพอที่จะให้เกิดการรับรู้ตามความ มุ่งหมายจิตวิทยาการเรียนรู้
ธรรมชาติของการเรียนรู้มี 4 ขั้นตอน
1. ความต้องการของผู้เรียน
2.  สิ่งเร้าที่น่าสนใจ
3. การตอบสนอง
4. การได้รับรางวัล
ลำดับขั้นตอนการเรียนรู้
ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น  จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ  ประสบการณ์  ความเข้าใจและความนึกคิด
กลุ่มความรู้
นักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นความสำคัญของส่วนรวม  ดังนั้นแนวคิดของการสอนซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นส่วนรวมก่อน  โดยเน้นจากประสบการณ์
การนำแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มความรู้มาใช้คือ  การจัดการเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนได้รับจากประสาทสัมผัส  เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ จึงเป็นแนวคิดในการเกิดการเรียนการสอนผ่านสื่อที่เรียกว่า โสตทัศนศึกษา
การประยุกต์ทฤษฏีมาใช้ในนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฏีและหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษา ในทักษะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น